ของเหลว
สมบัติของเหลว
1. ของเหลวมีปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างไม่คงที่
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าก๊าซแต่น้อยกว่าของแข็ง
3. การแพร่จะช้ากว่าก๊าซ แต่เร็วกว่าของแข็ง
4. ความหนาแน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของแข็ง
5. เมื่อนํามาผสมกัน ปริมาตรก่อนและหลังอาจเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้
6. ปริมาตรจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
การระเหย จะเกิดบริเวณผิวหน้าของเหลว เนื่องจากโมเลกุลบริเวณนั้นมีพลังงานสูงพอที่จะเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงหลุดกลายเป็นไอ
จุดเดือด เป็นอุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ ขณะนั้นความดันไอของเหลวต้องเท่ากับความดันบรรยากาศ
ความดันไอ จะเกิดในขณะของเหลวกลายเป็นไอ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับ
1. ชนิดของของเหลว
2. อุณหภูมิของเหลว
3. พื้นที่ผิว
จุดเดือดของเหลว P บรรยากาศ
1/P ไอของเหลว
สมดุลไดนามิก มักเป็นภาวะสมดุลของของเหลวที่จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว มีผลต่อสมบัติที่สำคัญของของเหลวนั้น ได้แก่ แรงตึงผิว (Surface tension) และความหนาแน่น (Density) ถ้าโมเลกุลของของเหลวนั้นมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันมาก ก็จะทำให้ความหนาแน่นและแรงตึงผิวของของเหลวนั้นมีค่าสูง เพราะโมเลกุลสามารถถูกดึงดูดให้อยู่ใกล้ชิดกันได้มาก นอกจากนั้น เมื่อความหนาแน่นและแรงตึงผิวมี ค่ามาก จะทำให้ของเหลวนั้นมีความหนืด (Viscosity) สูง
ค่าความหนาแน่น ความหนืด และแรงตึงผิวนี้ จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้โมเลกุลแต่ละโมเลกุลมีพลังงานสูงขึ้น สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระมากขึ้น ทำให้โมเลกุลขยับออกห่างจากกันมากขึ้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้ความหนาแน่น ความหนืด และแรงตึงผิวของของเหลวนั้นจึงลดลง นอกจากนี้ เรายังสามารถลดแรงตึงผิวของของเหลวได้โดยการเติมสารลดแรงตึงผิวลงไปในของเหลวนั้น ตัวอย่างเช่น น้ำสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาถึงโมเลกุลในภาชนะ โมเลกุลของของเหลวจะมีแรงยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลในทุกทิศทุกทาง แต่โมเลกุลที่อยู่บริเวณผิวหน้าของของเหลวจะมีแรงยึดเหนี่ยวกับโมเลกุล ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น แรงยึดเหนี่ยวจากด้านบนนั้นไม่มี แรงที่ดึงผิวหน้าของของเหลวเข้ามาภายในนี้จะเรียกว่า แรงตึงผิว โดยสังเกตได้จากเมื่อใส่น้ำในกระบอกตวง ผิวหน้าของน้ำจะมีลักษณะโค้งลง หรือหยดน้ำบนใบบัว หรือบนแผ่นกระจกจะมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงรีก็เพราะแรงตึงผิวของ
น้ำจะพยายามดึงผิวของของเหลวเข้ามาทุกทิศทาง และทรงกลมจะเป็นรูปที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น