วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมบัติของของแข็ง

ของแข็ง
- ของแข็งจับยึดกันได้อย่างแข็งแรง เป็นสถานะที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้น้อยที่สุด ลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลของของแข็งน่าจะเป็นอย่างไร มีระเบียบมากหรือน้อยกว่าสถานะอื่นๆ อย่างไร
(การจัดเรียงตัวของโมเลกุลในสถานะของแข็งนั้นจะแน่นหนา และแข็งแรงกว่าสถานะอื่นๆ จึงทำให้ของแข็งสามารถคงรูปร่างไว้ได้ โดยไม่ไหล หรือเปลี่ยนรูปร่างไปมาได้โดยง่ายเหมือนของเหลว และแก๊ส)
* ของแข็งอสัณฐาน คือ ของแข็งที่อนุภาคจัดเรียงอย่างไม่เป็นระเบียบ
* ผลึก คือ ของแข็งที่อนุภาคจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
ดังนั้นอาจจะแยกของแข็งที่เป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบออกจากกัน
.........................................
โครงสร้างผลึกของ C 60..........................................ท่อคาร์บอนที่มีผนังหลายชั้น
นอกจากนี้ของแข็งชนิดอื่นๆ ก็สามารถพบว่ามีอัญรูปได้เช่นเดียวกัน เช่น กำมะถัน หรือฟอสฟอรัส เป็นต้น ลองค้นคว้าหาอัญรูปแบบอื่นๆ ของของแข็งชนิดต่างๆ ดู
กำมะถันนั้นมีรูปแบบที่เป็นผลึกอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ กำมะถันแอลฟา และกำมะถันบีตา ซึ่งเกิดจากการจัดเรียงตัวที่ต่างกัน ส่งผลให้มีคุณสมบัติบางประการไม่เหมือนกันด้วย เช่น สี จุด หลอมเหลว ความหนาแน่น
หนึ่งโมเลกุลของกำมะถัน ประกอบด้วย 8 อะตอมต่อกันเป็นวง โดยกำมะถันที่เป็นผลึกจะมีอยู่ 2 อัญรูป คือ
1) กำมะถันแอลฟา หรือกำมะถันรอมบิก (Rhombic sulphur) ผลึกจะมีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยม
2) กำมะถันบีตา หรือกำมะถันมอนอคลินิก (Monoclinic sulphur) ผลึกจะมีลักษณะเป็นรูปเข็ม
ซึ่งผลึกทั้ง 2 อัญรูปนี้จะมีสมบัติที่แตกต่างกัน คือ
ตาราง สมบัติบางประการของกำมะถันรอมบิกและกำมะถันมอนอคลินิก
สมบัติ
กำมะถันรอมบิก
กำมะถันมอนอคลินิก
รูปผลึก
เหลี่ยม
เข็ม
สี
เหลืองอ่อน
เหลืองเข้ม
ความหนาแน่นจุด
2.07 กรัม/cm 3
1.96 กรัม/cm 3
หลอมเหลว
112.8 ๐C
119 ๐C
จุดเดือด
444.6 ๐C
444.6 ๐C
การนำไฟฟ้า
ไม่นำไฟฟ้า
ไม่นำไฟฟ้า
ผลึกฟอสฟอรัสนั้นพบอยู่ 3 แบบ คือ ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสแดง และฟอสฟอรัสดำ
- ฟอสฟอรัสขาว หรือฟอสฟอรัสเหลือง ประกอบด้วยฟอสฟอรัส 4 อะตอม มีสูตรโมเลกุล P 4
- ฟอสฟอรัสแดง มีโครงสร้างเป็นสายยาวต่อกันไป
- ฟอสฟอรัสดำ มีโครงสร้างแบบโครงผลึกร่างตาข่าย
ตาราง สมบัติบางประการของฟอสฟอรัสขาว แดง และดำ
สมบัติ
ฟอสฟอรัสขาว
ฟอสฟอรัสแดง
ฟอสฟอรัสดำ
ลักษณะ
ของแข็งสีขาว หรือเหลือง
ของแข็งสีแดง
ของแข็งสีดำ
จุดหลอมเหลว
44 ๐C
590 ๐C ( ที่ความดันสูง)
610 ๐C
ความหนาแน่น
1.82 กรัม/cm 3
2.34 กรัม/cm 3
2.70 กรัม/cm 3
การนำไฟฟ้า
ไม่นำไฟฟ้า
ไม่นำไฟฟ้า
นำไฟฟ้าเล็กน้อยที่อุณหภูมิสูง

สมบัติของของแหลว

ของเหลว
สมบัติของเหลว
1. ของเหลวมีปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างไม่คงที่
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าก๊าซแต่น้อยกว่าของแข็ง
3. การแพร่จะช้ากว่าก๊าซ แต่เร็วกว่าของแข็ง
4. ความหนาแน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของแข็ง
5. เมื่อนํามาผสมกัน ปริมาตรก่อนและหลังอาจเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้
6. ปริมาตรจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
การระเหย จะเกิดบริเวณผิวหน้าของเหลว เนื่องจากโมเลกุลบริเวณนั้นมีพลังงานสูงพอที่จะเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงหลุดกลายเป็นไอ
จุดเดือด เป็นอุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ ขณะนั้นความดันไอของเหลวต้องเท่ากับความดันบรรยากาศ
ความดันไอ จะเกิดในขณะของเหลวกลายเป็นไอ จะมากน้อยขึ้นอยู่กับ
1. ชนิดของของเหลว
2. อุณหภูมิของเหลว
3. พื้นที่ผิว
จุดเดือดของเหลว  P บรรยากาศ
 1/P ไอของเหลว
สมดุลไดนามิก มักเป็นภาวะสมดุลของของเหลวที่จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว มีผลต่อสมบัติที่สำคัญของของเหลวนั้น ได้แก่ แรงตึงผิว (Surface tension) และความหนาแน่น (Density) ถ้าโมเลกุลของของเหลวนั้นมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันมาก ก็จะทำให้ความหนาแน่นและแรงตึงผิวของของเหลวนั้นมีค่าสูง เพราะโมเลกุลสามารถถูกดึงดูดให้อยู่ใกล้ชิดกันได้มาก นอกจากนั้น เมื่อความหนาแน่นและแรงตึงผิวมี ค่ามาก จะทำให้ของเหลวนั้นมีความหนืด (Viscosity) สูง
ค่าความหนาแน่น ความหนืด และแรงตึงผิวนี้ จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้โมเลกุลแต่ละโมเลกุลมีพลังงานสูงขึ้น สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระมากขึ้น ทำให้โมเลกุลขยับออกห่างจากกันมากขึ้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้ความหนาแน่น ความหนืด และแรงตึงผิวของของเหลวนั้นจึงลดลง นอกจากนี้ เรายังสามารถลดแรงตึงผิวของของเหลวได้โดยการเติมสารลดแรงตึงผิวลงไปในของเหลวนั้น ตัวอย่างเช่น น้ำสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาถึงโมเลกุลในภาชนะ โมเลกุลของของเหลวจะมีแรงยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลในทุกทิศทุกทาง แต่โมเลกุลที่อยู่บริเวณผิวหน้าของของเหลวจะมีแรงยึดเหนี่ยวกับโมเลกุล ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น แรงยึดเหนี่ยวจากด้านบนนั้นไม่มี แรงที่ดึงผิวหน้าของของเหลวเข้ามาภายในนี้จะเรียกว่า แรงตึงผิว โดยสังเกตได้จากเมื่อใส่น้ำในกระบอกตวง ผิวหน้าของน้ำจะมีลักษณะโค้งลง หรือหยดน้ำบนใบบัว หรือบนแผ่นกระจกจะมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงรีก็เพราะแรงตึงผิวของ
  
น้ำจะพยายามดึงผิวของของเหลวเข้ามาทุกทิศทาง และทรงกลมจะเป็นรูปที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดนั่นเอง

สมบัติของแก๊ส

ก๊าซ
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความดัน และปริมาตรของแก๊ส
- ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิของแก๊ส มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(แก๊สต่างๆ นั้นจะมีความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิ อย่างใกล้ชิด โดยความสัมพันธ์จะแบ่งเป็นคู่ความสัมพันธ์ เมื่อให้ปริมาตรของแก๊สคงที่ตลอดการพิจารณา)
1) ปริมาตร- ความดัน ความสัมพันธ์นี้เสนอโดย รอเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle, 1662) กล่าวไว้ว่า “ เมื่ออุณหภูมิและจำนวนอนุภาคคงที่ ปริมาตรของแก๊สใดๆ จะแปรผกผันกับความดันของแก๊สนั้นๆ” ดังสมการ
 หรือ 
ดังนั้น PV = k
เมื่อ V คือ ปริมาตร
P คือ ความดัน
k คือ ค่าคงที่
2) อุณหภูมิ- ปริมาตร ความสัมพันธ์นี้ค้นพบโดย ชาร์ล (Jacques Charles, 1787) ที่กล่าวไว้ว่า “ เมื่อความดันและจำนวนอนุภาคคงที่ ปริมาตรของแก๊สใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ เคลวิน” ดังสมการ
 หรือ V = kT
ดังนั้น 
เมื่อ V คือ ปริมาตร
P คือ ความดัน
k คือ ค่าคงที่
3) อุณหภูมิ- ความดัน ความสัมพันธ์นี้ค้นพบโดย เกย์ - ลุสแซก (Joseph-Louis Gay-Lussac, 1802) ที่กล่าวไว้ว่า “ เมื่อปริมาตร และจำนวนอนุภาคคงที่ ความดันของแก๊สใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน” ดังสมการ
 หรือ P = kT
ดังนั้น 
เมื่อ P คือ ความดัน
T คือ อุณหภูมิ
k คือ ค่าคงท
ี่
จากกฎทั้งสาม เมื่อนำมารวมกันจะนำไปสู่กฎรวมของแก๊ส นั่นคือ
ดังนั้น 
(การทำงานของลูกสูบ เริ่มจากการปล่อยให้ไอของเชื้อเพลิงไหลเข้าไปในกระบอกสูบ เมื่อกระบอกสูบอัดตัวเข้ามา หัวเทียนก็จะจุดระเบิดเชื้อเพลิงได้เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นปริมาตรของกระบอกสูบก็จะขยายออกอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงมีการระบายแก๊สออกไปยังท่อไอเสีย การทำงานที่สัมพันธ์กันนี้ เมื่อกระบอกสูบหดและขยายตัวสลับกันไป ก็จะทำให้ก้านสูบไปดันให้เกิดการหมุนของล้อและเพลาได้อย่างต่อเนื่อง)
สรุปทฤษฎีต่างๆ ของก๊าซ
  • กฎของบอยล์ ( Boyle ‘s Law) “ เมื่ออุณหภูมิและมวลคงที่ ปริมาตรของก๊าซใด ๆ จะแปรผกผันกับความดัน”

เมื่อ T และ คงที่
P 1V 1 = P 2V 2
  • กฎของชาร์ล ( Charle ‘s Law) “ เมื่อความดันและมวลของก๊าซคงที่ ปริมาตรของก๊าซจะแปรผันตรงกับคุณหภูมิเคลวิน”

เมื่อ P และ nคงที่
  • กฎของเกย์ลุสแสค ( Gay-Lussac ‘s Law) “ ความดันของก๊าซใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวินเมื่อปริมาตรและมวลของก๊าซคงที่”

เมื่อ V และ n คงที่
  • กฎของก๊าซ (Gas Law)
กฎของก๊าซ สมบัติของแก๊สที่ได้จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสาม คือ บอยล์ ชาร์ล และเกย์-ลูสแซก นำมารวมกันเป็นกฎของแก๊ส จะได้กฎของแก๊ส คือ
(เมื่อปริมาณหรือจำนวนโมเลกุลของแก๊สคงที่)
และจะได้
จากความสัมพันธ์ ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า  เป็นค่าคงที่ ซึ่งค่าคงที่ตัวนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ (N) ทีใช้ทดลอง คือ ถ้าจำนวนโมเลกุลเปลี่ยนไปค่า  ต้องเปลี่ยนไปด้วย เช่น การรั่วของแก๊สจากลูกโป่งทำให้ปริมาตรของลูกโป่งลดลง และความดันภายในลูกโป่งลดลงด้วย
ให้ N เป็นจำนวนโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ
ดังนั้น 
หรือ
เมื่อ KB คือ ค่าคงตัวของโลต์ซมัน์ (Boltzmann’s constant ) มีค่าเท่ากับ 1.38x10 -23 จูลต่อเคลวิน
ให้ n เป็นจำนวนโมลของก๊าซในภาชนะ
เนื่องจาก n = มวลของก๊าซ (m) / มวลโมเลกุลของแก๊ส (M)
หรือ
เมื่อ N A คือ เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) มีค่าเท่ากับ 6.02x10 23 โมเลกุลต่อโมล
จะได้
หรือ PV = nRT
ดังนั้นสูตรที่เกี่ยวข้องกับโมลของแก๊ส PV = nRT
เมื่อ R= N AK B มีค่าเท่ากับ 8.314 จูลต่อโมล-เคลวิน เรียกว่า ค่าคงตัวของแก๊ส
ตัวอย่างที่ 1 5 อากาศซึ่งอยู่ในห้องที่มีขนาด 50 ลูกบาศก์ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 0 องศาเซลเซียสเป็น 27 องศาเซลเซียส จงหาว่าอากาศจะรั่วออกไปจากห้องกี่กิโลกรัม กำหนดความหนาแน่นของอากาศที่ 0 องศาเซลเซียสเท่ากับ 1.3 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
วิธีทำ จากกฎของแก๊ส 
ในที่นี้ความดันของอากาศในห้องต้องคงตัว จะได้
p 1 T 1 = p 2 T 2
p 2 = ( 1.3x273)/300
= 1.18 kg/m 3
มวลของอากาศที่รั่วออกไปจากห้อง = m 1-m 2= ( p 1 - p 2 ) V = (1.3 – 1.18)50
= 5.85 kg.
ดังนั้น อากาศจะรั่วออกไปจากห้องเท่ากับ 5.85 กิโลกรัม ตอบ
  • กฎความดันย่อยของดาลตัน ( Dalton ‘s Law of Partial Pressure)
P t = P 1 + P 2 + P 3 + P 4 + ……..
P t = ความดันรวมของก๊าซผสม
  • ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ
    • ก๊าซประกอบด้วยโมเลกุลขนาดเล็กมากและอยู่ห่างกัน
    • ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของก๊าซ
    • โมเลกุลของก๊าซเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยเป็นเส้นตรง
    • เมื่อโมเลกุลชนกันจะไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์
    • พลังงานจลน์เฉลี่ยของก๊าซแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน และที่อุณหภูมิเดียวกันก๊าซทุกชนิดมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน
พลังงานจลน์เฉลี่ย = 1/2 mv 2
= 3/2 kT
k = ค่าคงที่ของ Botzman
= 1.39 X 10 -23 J/K.mol

การแพร่ของแก๊ส
เรื่องการแพร่ของแก๊สนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ง่ายๆ โดยอาศัยแก๊สที่มีสี อาจจะใช้เกล็ดไอโอดีนให้ระเหิดและกระจายตัวออกไปก็ได้ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของแก๊สว่ามี ทิศทางอย่างไร ได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้มากขึ้น หรืออาจทดลองได้ง่ายๆ โดยใช้สารละลาย แอมโมเนียเข้มข้น (conc NH 3) กับสารละลาย กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (conc HCl) โดยใช้ไม้พันสำลีชุบสารละลายแอมโมเนียเข้มข้น และไม้พันสำลีชุบสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น นำไม้พันสำลีทั้งสองไปปิดที่ปลายของหลอดแก้วปลายเปิดทั้งสองด้าน ดังภาพ
สารละลายกรด
ไฮโดรคลอริก (HCI )
  
  
เกลือแอมโมเนียคลอไรด์ สารละลายกรดแอมโมเนีย
(NH 4CI ) (NH 3 )
การทดลองเรื่องการแพร่ของแก๊ส
เนื่องจากทั้งสารละลายแอมโมเนียเข้มข้นและสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นกลายเป็น
ไอได้ง่าย ( ไอแอมโมเนียและไอไฮโดรเจนคลอไรด์) ไอที่เกิดขึ้นจะแพร่ไปตามหลอดแก้ว เมื่อไอทั้งสองสัมผัสกัน ก็จะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นแอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งสังเกตได้เพราะเป็นของแข็งสีขาว แล้ววัดระยะของของแข็งจะพบว่าแก๊สแอมโมเนียแพร่มาได้ไกลกว่า เนื่องจากมวลโมเลกุลน้อยกว่านั่นเอง ( มวลโมเลกุลของแอมโมเนีย คือ 17 และมวลโมเลกุลของกรดไฮโดรคลอริก คือ 36.5)
  • กฎการแพร่ของก๊าซของเกรแฮม (Graham ‘s Law of Diffusion of Gas)
    “ เมื่ออุณหภูมิและความดันคงที่ การแพร่ของก๊าซใด ๆ จะแปรผกผันกับรากที่ 2 ของมวลโมเลกุล หรือความหนาแน่นของก๊าซนั้น
 หรือ 
r = อัตราการแพร่ของก๊าซ
M = มวลโมเลกุลของก๊าซ
D = ความหนาแน่นของก๊าซ
หน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับก๊าซ
ปริมาตร 1 ลิตร = 1 dm 3
= 1000 มิลลิลิตร
= 1000 CC.
= 1000 cm3
ความดัน 1 บรรยากาศ = 760 มม. ปรอท
= 76 ซม. ปรอท
= 760 ทอร์
= 14.7 ปอนด์/ ตารางนิ้ว
ความดันย่อยของแก๊สผสม
ความดันของแก๊สผสม ย่อมเกิดจากความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิด อาจจะยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆ โดยอาศัยอากาศมาอธิบาย เนื่องจากอากาศเองก็มีความดัน และองค์ประกอบของอากาศก็มีมากมายอันได้แก่ แก๊สชนิดต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
ตาราง ร้อยละของแก๊สองค์ประกอบในบรรยากาศโลก
แก๊ส
ร้อยละโดยปริมาตรของแก๊สองค์ประกอบในบรรยากาศโลก
ไนโตรเจน ( N2 )
ออกซิเจน ( O2 )
คาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )
อาร์กอน ( Ar )
ไอน้ำ ( H 2O )
คาร์บอนมอนนอกไซต์ ( CO )
นีออน ( Ne )
78.80
20.95
0.036
0.930
0-4
น้อยมาก
0.002
ความดันบรรยากาศ เกิดจากความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิดรวมกันนั่นเอง

รูปของคาร์บอน

ธาตุคาร์บอน
          เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสารประกอบของคาร์บอน จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุคาร์บอนก่อนดังนี้
          คาร์บอนเป็นธาตุที่มีอยู่ในโลกค่อนข้างมากทั้งในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในตรารงธาตุจัดไว้เป็นธาตุหมู่ที่ IV  คาบที่ มีเลขอะตอม  6  โดยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น  1s2  2s2  2p2 หรือ 2 , 4  มีไอโซโทปที่สำคัญ  3  ชนิดคือ  12C ,   13C,  และ 14C  โดยมีมวลอะตอมเฉลี่ยเป็น  12.011
          สมบัติทั่ว ๆ ไปของคาร์บอนได้แก่
·     มีจุดหลอมเหลว 3730 0และจุดเดือด 4830 0C (ในเพชร)
·     เป็นของแข็ง มีความหนาแน่น 3.51 g/cm3  ในเพชร และ 2.26 g/cm3 ในแกรไฟต์
·     มีรัศมีอะตอม 0.077 nm
·     มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง (IE1) 1086 kJ/Mol
·     มีอิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.5
          คาร์บอนที่อยู่ในภาวะอิสระตามธรมชาติมี  2  รูป  คือ แกรไฟต์และเพชร


รูปของกำมะถัน

กำมะถันมีมีลักษณะเป็นผงสามารถละลายได้ในโทลูอีน (C6H5–CH3) เมื่อทำให้เป็นสารละลายอิ่มตัวแล้วตั้งทิ้งไว้จะได้ของแข็งในรูปผลึกที่มีลักษณะแตกต่างกัน 2 รูป แต่ละรูปมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกัน ดังนี้
1. กำมะถันรอมบิก (Rhombic sulphur)
มีลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในธรรมชาติจะพบกำมะถันรอมบิกเป็นส่วนใหญ่ เป็นรูปที่เสถียรที่สุด เนื่องจากยู่ตัวที่อุณหภูมิห้อง หรืออุณหภูมิต่ำกว่า 95.5Oมีสูตรโมเลกุลเป็น S8 มีความถ่วงจำเพาะ 2.06 จุดหลอมเหลว 112.8O(ประมาณ 113OC) ละลายได้ดีใน CS2 เบนซีน (C6H6) โทลูอีน และน้ำมันสนที่ร้อน ไม่ละลายน้ำ
กำมะถันรอมบิก

กำมะถันรอมบิก

2. กำมะถันมอนอคลินิก (Monoclinic sulphur)
มีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายเข็ม เป็นผลึกโปร่งใส มีสีเหลืองเข้มกว่ากำมะถันรอมบิก มีสูตรโมเลกุลเป็น S8 ความถ่วงจำเพาะ 1.96 จุดหลอมเหลว 119Oละลายได้ดีใน CS2 ไม่ละลายน้ำ อยู่ตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 96Oถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเปลี่ยนกลับไปเป็นกำมะถันรอมบิก ดังนั้นจึงอาจเตรียมกำมะถันรอมบิกจากกำมะถันมอนอคลินิกโดยการลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 96Oกำมะถันมอนอคลินิกเตรียมได้โดยนำกำมะถันผงละลายในโทลูอีนร้อน ๆ จนได้สารละลายอิ่มตัว แล้วกรองหลังจากทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ผลึกแยกออกมา
กำมะถันมอนอคลินิก


กำมะถันมอนอคลินิก

นอกจากรูปผลึกทั้งสองแบบแล้ว ยังมีกำมะถันที่ไม่มีรูปอีกหลายชนิด เช่น กำมะถันพลาสติก (Plastic sulphur) กำมะถันขาว (White sulphur) กำมะถันคอลลอยด์ (Colloidal sulphur)

การจัดเรียงตัวของโมเลกุลกำมะถัน



ตัวอย่างธาตุที่มีการจัดเรียงโมเลกุลได้หลายรูปแบบดังนี้
สมบัติบางประการของของแข็งบางชนิดที่อยู่ในรูปต่าง ๆ กัน
ชื่อธาตุ
รูปของของแข็ง
ลักษณะภายนอก
จุดหลอมเหลว (OC)
จุดเดือด (OC)
ความหนาแน่น (g/dm3)
สภาพนำไฟฟ้า
กำมะถัน
รอมบิก
ผลึกรูปเหลี่ยมสีเหลือง
112.80
444.67
2.07
ไม่นำ

มอนอคลินิก
ผลึกรูปเข็มสีเหลือง
119
444.67
1.96
ไม่นำ
คาร์บอน
แกรไฟต์
ผงหรือแผ่นสีดำ
3727**
3642*
2.25
นำ

เพชร
ผลึกรูปเหลี่ยมไม่มีสี
สูงกว่า 3550
4827
3.51
ไม่นำ

ฟุลเลอรีน
ผงสีดำ
~
~
~
ไม่นำ
ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสขาว
ก้อนสีขาว
44
280
1.82
ไม่นำ

ฟอสฟอรัสแดง
ผงสีแดง
590**
417*
2.34
ไม่นำ

ฟอสฟอรัสดำ
เกล็ดสีดำ
2.70
นำ

โครงสร้างฟอสฟอรัส (P4)
โครงสร้างฟอสฟอรัสดำ
โครงสร้างฟอสฟอรัสแดง