กำมะถันมีมีลักษณะเป็นผงสามารถละลายได้ในโทลูอีน (C6H5–CH3) เมื่อทำให้เป็นสารละลายอิ่มตัวแล้วตั้งทิ้งไว้จะได้ของแข็งในรูปผลึกที่มีลักษณะแตกต่างกัน 2 รูป แต่ละรูปมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกัน ดังนี้
1. กำมะถันรอมบิก (Rhombic sulphur)
มีลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในธรรมชาติจะพบกำมะถันรอมบิกเป็นส่วนใหญ่ เป็นรูปที่เสถียรที่สุด เนื่องจากยู่ตัวที่อุณหภูมิห้อง หรืออุณหภูมิต่ำกว่า 95.5OC มีสูตรโมเลกุลเป็น S8 มีความถ่วงจำเพาะ 2.06 จุดหลอมเหลว 112.8OC (ประมาณ 113OC) ละลายได้ดีใน CS2 เบนซีน (C6H6) โทลูอีน และน้ำมันสนที่ร้อน ไม่ละลายน้ำ

กำมะถันรอมบิก
![]() | ![]() |
2. กำมะถันมอนอคลินิก (Monoclinic sulphur)
มีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายเข็ม เป็นผลึกโปร่งใส มีสีเหลืองเข้มกว่ากำมะถันรอมบิก มีสูตรโมเลกุลเป็น S8 ความถ่วงจำเพาะ 1.96 จุดหลอมเหลว 119OC ละลายได้ดีใน CS2 ไม่ละลายน้ำ อยู่ตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 96OC ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเปลี่ยนกลับไปเป็นกำมะถันรอมบิก ดังนั้นจึงอาจเตรียมกำมะถันรอมบิกจากกำมะถันมอนอคลินิกโดยการลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 96OC กำมะถันมอนอคลินิกเตรียมได้โดยนำกำมะถันผงละลายในโทลูอีนร้อน ๆ จนได้สารละลายอิ่มตัว แล้วกรองหลังจากทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ผลึกแยกออกมา

กำมะถันมอนอคลินิก
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
กำมะถันมอนอคลินิก
นอกจากรูปผลึกทั้งสองแบบแล้ว ยังมีกำมะถันที่ไม่มีรูปอีกหลายชนิด เช่น กำมะถันพลาสติก (Plastic sulphur) กำมะถันขาว (White sulphur) กำมะถันคอลลอยด์ (Colloidal sulphur)
การจัดเรียงตัวของโมเลกุลกำมะถัน
ตัวอย่างธาตุที่มีการจัดเรียงโมเลกุลได้หลายรูปแบบดังนี้
สมบัติบางประการของของแข็งบางชนิดที่อยู่ในรูปต่าง ๆ กัน
ชื่อธาตุ | รูปของของแข็ง | ลักษณะภายนอก | จุดหลอมเหลว (OC) | จุดเดือด (OC) | ความหนาแน่น (g/dm3) | สภาพนำไฟฟ้า |
กำมะถัน | รอมบิก | ผลึกรูปเหลี่ยมสีเหลือง | 112.80 | 444.67 | 2.07 | ไม่นำ |
มอนอคลินิก | ผลึกรูปเข็มสีเหลือง | 119 | 444.67 | 1.96 | ไม่นำ | |
คาร์บอน | แกรไฟต์ | ผงหรือแผ่นสีดำ | 3727** | 3642* | 2.25 | นำ |
เพชร | ผลึกรูปเหลี่ยมไม่มีสี | สูงกว่า 3550 | 4827 | 3.51 | ไม่นำ | |
ฟุลเลอรีน | ผงสีดำ | ~ | ~ | ~ | ไม่นำ | |
ฟอสฟอรัส | ฟอสฟอรัสขาว | ก้อนสีขาว | 44 | 280 | 1.82 | ไม่นำ |
ฟอสฟอรัสแดง | ผงสีแดง | 590** | 417* | 2.34 | ไม่นำ | |
ฟอสฟอรัสดำ | เกล็ดสีดำ | – | – | 2.70 | นำ |
![]() | ![]() |
โครงสร้างฟอสฟอรัส (P4) | โครงสร้างฟอสฟอรัสดำ |
![]() โครงสร้างฟอสฟอรัสแดง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น